จีนกำลังสร้างกับดักหนี้ ชาติยากจน หนี้สินล้นพ้นตัวหรือเปล่า?

Last updated: 7 เม.ย 2565  |  483 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จีนกำลังสร้างกับดักหนี้ ชาติยากจน หนี้สินล้นพ้นตัวหรือเปล่า?

จีนกำลังสร้างกับดักหนี้ ทำให้ชาติยากจน มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือเปล่า ?


จีนโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าให้ชาติยากจนกู้เงินจนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้ตกอยู่ในอิธิพลของชาติมหาอำนาจแห่งเอเชีย แต่จีนก็ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้ โดยบอกว่า เป็นการพยายามใส่ร้ายป้ายสีโดยชาติตะวันตก มาดูกันว่าจริงๆแล้วจีนกำลังทำให้ชาติต่างๆมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือเปล่า

 
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ให้ชาติรายได้ต่ำถึงปานกลางยืมเงินมากขึ้นถึง 3 เท่า โดยคิดเป็นมูลค่า 1.7 แสนล้าน ดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อย่างไรก็ดีมีความเป็นไปได้ว่าตัวเลขจริงสูงกว่านี้มาก โดยศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยวิลเลียมแอนแมรี่ (Aiddata) ในสหรัฐ บอกว่า เงินที่จีนให้ประเทศกำลังพัฒนากู้ยืมไม่ได้ปรากฏในรายงานทางสถิติทางการ โดยส่วนใหญ่เป็นการให้ยืมผ่านบริษัทหรือธนาคารรัฐหรือสถาบันเอกชนแทนที่จะเป็นการตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ และยังบอกอีกว่ามีประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลาง กว่า 40 ประเทศ มีนี่สูงกว่า 10% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของตัวเอง ซึ่งนี่ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt & Road Intiative - BRI) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งริเริ่มเมื่อปี 2013 โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของจีนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและทุนมหาศาลที่จีนมีในการสร้างเส้นทางการค้าใหม่ทั่วโลก


กรณีที่เกิดขึ้นที่ศรีลังกาเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมากว่าจีนสร้างกับดักนี่เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลภายในประเทศ โดยหลายปีก่อนหน้านี้จีนได้เข้าไปลงทุนในโครงการท่าเรือขนาดใหญ่ที่เมืองแฮมบันโตตา โดยโครงการมีมูลค่าหลายพันล้าน ซึ่งอาศัยเงินกู้และผู้รับเหมาจากจีน จนศรีลังกามีหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด รัฐบาลศรีลังกาก็ตกลงให้บริษัทของทางการจีนได้สิทธิ์เช้าท่าเรือนาน 99 ปีเพื่อแลกกับการลงทุนจากจีนต่อ นอกจากกรณีของศรีลังกาแล้ว มีกรณีที่จีนให้ชาติอื่นๆ กู้เงินพร้อมสัญญาที่เปิดช่องทางให้จีนมีความได้เปรียบที่จะได้ผลประโยชน์จากสินทรัพย์ของประเทศเหล่านั้นได้อีกมากมาย อย่างไรก็ดีจากการศึกษายังไม่พบว่าบริษัทหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมเงินโดยมีทางการจีนเป็นเจ้าของได้เข้าไปยึดครองสินทรัพย์จริงๆในกรณีผิดชำระหนี้

 
เทียบกับประเทศอื่นๆ
 
จีนไม่เผยแพร่ข้อมูล การให้ต่างชาติกู้ยืมเงินและสัญญาส่วนใหญ่ก็มีข้อตกลงรักษาความลับป้องกันไม่ให้ผู้กู้เงินเปิดเผยข้อมูลได้ ประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เปิดเผยข้อมูลการให้ต่างชาติกู้ยืมเงินผ่านการเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่เรียกกันว่า “ปารีสคลับ” (Paris Club) แต่จีนไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มนี้ แต่หากดูจากข้อมูลที่มีของธนาคารโลกจะเห็นว่าปริมาณเงินที่เจให้ชาติอื่นกู้ยืมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


ใช้หนี้จีนยากกว่าหรือเปล่า?

จีนมีแนวโน้มคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่ารัฐบาลชาติตะวันตกโดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ที่ราว 4% ใกล้เคียงกับอัตราการกู้เชิงพาณิชย์ และสูงกว่าอัตราทั่วไปที่คิดโดยธนาคารโลกหรือประเทศต่างๆ เช่น ฝรั่งเศสหรือเยอรมันนีถึง 4 เท่า และระยะเวลาบังคับใช้นี่ของจีนก็มักจะสั้นกว่าด้วย คือไม่ถึง 10 ปี เมื่อเทียบกับเจ้าหนี้รายอื่นที่ให้เวลาประเทศกำลังพัฒนาราว 28 ปี บริษัทหรือสถาบันผู้ให้กู้เงินที่ทางการจีนเป็นเจ้าของมักจะบังคับให้ลูกหนี้ฮงเงินสดจำนวนขั้นต่ำไว้ในบัญชีธนาคารในต่างประเทศด้วยโดยจีนสามารถเข้าถึงบัญชีนี้ได้โดยตรง แบรด พาร์คส์ จาก เอดดาต้า บอกว่านั่นหมายความว่าหากประเทศใดผิดชำระหนี้จีนก็สามารถนำเงินออกจากบัญชีนั้นได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย นี่เป็นวิธีการที่เราแทบไม่เห็นประเทศตะวันตกทำกัน


ขณะนี้มีโครงการโดยกลุ่มประเทศจี 20 ที่ให้ทุนช่วยเหลือประเทศที่ยากจนในการผ่อนปรนนี่ขณะที่ต้องรับมือกับ โควิด-19 โดยรายงานของธนาคารโลกบอกว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 เป็นต้นมา มีการผ่อนปรนนี่ของกลุ่มประเทศจี 20 มากกว่า 1.03 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ โดยธนาคารโลกแจ้งว่าไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

อ้างอิงจาก : BBC News

ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com 
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้