ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน เป็นมาอย่างไร

Last updated: 7 เม.ย 2565  |  710 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน เป็นมาอย่างไร

ความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน เป็นมาอย่างไร

 
หัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือการรวมชาติ โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เคยกล่าวว่า” การรวมชาติกับไต้หวันต้องสำเร็จ” และไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นจริง ในปีที่ผ่านมา เครื่องบินรบของจีนได้รุกล้ำเข้าไปในเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

 
จีนเห็นว่าไต้หวันที่ปกครองตัวเองในลักษณะมณฑลที่แยกออกไป สุดท้ายแล้วก็กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามไต้หวันมองว่าตัวเองเป็นประเทศเอกราชที่มีรัฐธรรมนูญของตัวเอง และมีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง


ไต้หวันอยู่ตรงไหน

ไต้หวันมีลักษณะเป็นเกาะ อยู่ห่างจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนราว 100 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 160 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ แนวห่วงโซ่ของเกาะชั้นที่ 1” ซึ่งรวมถึงดินแดนที่เป็นมิตรกับสหรัฐหลายแห่ง ที่มีความสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ หากจีนยึดไต้หวัน ผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกบางคนได้ให้ความเห็นว่า อาจทำให้จีนมีอิสระมากขึ้นในการแสดงอำนาจในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก และอาจคุกคามฐานทัพสารัทธ์ใกล้ถึงกวมและฮาวายได้ด้วย


ทำไมไต้หวันจึงแยกออกจากจีน

ต้องย้อนอดีตไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีการสู้รบขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ระหว่างกองกำลังรัฐบาลชาตินิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะในปี 1949 และ เหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในขนาดนั้นเข้ายึดกรุงปักกิ่ง ขณะที่พรรคชาตินิยมหรือรู้จักกันในชื่อ ก๊กมินตั๋ง ต้องลี้ภัยไปไต้หวัน พรรคก๊กมินตั๋ง เป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่สำคัญที่สุดในไต้หวันนับตั้งแต่นั้น โดยได้ปกครองเกาะไต้หวัน เป็นช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีเพียง 13 ประเทศ(ไม่รวมสำนักวาติกัน) ที่ยอมรับไต้หวันว่าเป็นประเทศอธิปไตย โดยทางการจีนพยายามกดดันทางการทูตประเทศอื่นๆ ให้ไม่ยอมรับไต้หวันหรือไม่ให้ทำอะไรที่ถือได้ว่าเป็นการยอมรับ โดยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไต้หวันกล่าวว่าความสัมพันธ์กับจีนแล้วฉันที่สุดในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา

 

ไต้หวัน ป้องกันตัวเองได้หรือไม่

จีนพยายามใช้วิธีการต่างๆที่ไม่ใช่วิธีทางทหารในการรวมชาติให้เกิดขึ้น อย่างการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ แต่หากมองในกรณีที่มีการเผชิญหน้าทางทหารเกิดขึ้น กองทัพไต้หวันจะได้ไปเลยเมื่อเทียบกับจีน ปีที่ผ่านมาจีนใช้งบประมาณด้านกลาโหมสูงกว่าทุกชาติในโลกยกเว้น สหรัฐฯ และเพิ่มขีดความสามารถที่หลากหลายตั้งแต่ทางทะเลไปจนถึงเทคโนโลยีขีปนาวุธ เครื่องบิน และการโจมตีทางไซเบอร์


หากพิจารณาจำนวนบุคลากรที่ยังประจำการอยู่จะพบว่าจีนมีกองทัพที่เหนือกว่าไต้หวัน โดยจีนมีกองกำลังภาคพื้นดิน 965,000 นาย ส่วนไต้หวันมีเพียง 88,000 นาย ในส่วนของกองทัพเรือ จีนมีกำลังพล 260,000 นาย กำลังพลของไต้หวันมีเพียง 40,000 นาย และกองทัพอากาศ จีนมีกำลังพล 395,000 นาย ส่วนของไต้หวันมีกำลังพล 35,000 นาย และจีนยังมีกองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์ กองกำลังสนับสนุนยุทธศาสตร์ และกองกำลังอื่นๆ อีกกว่า 410,000 นาย

 
ในความขัดแย้งของจีนและไต้หวัน ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากชาติตะวันตกบางส่วนได้ทำนายว่า สิ่งที่ไต้หวันทำได้ดีที่สุดคือการพยายามชะลอการโจมตีของจีน และพยายามป้องกันไม่ให้กว่ากำลังของจีนยกคนขึ้นฝั่งและใช้ยุทธวิธีโจมตีแบบของโจรในระหว่างที่ไต้หวันรอคอยความช่วยเหลือจากภายนอก ความช่วยเหลือนั้นอาจมาจากสหรัฐซึ่งขายอาวุธให้ไต้หวัน แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐจะมีนโยบาย “ คลุมเครือ ทางยุทธศาสตร์” ที่ไม่แสดงออกชัดเจนว่าส่งทหารเข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องไต้หวันหากถูกโจมตี ทางการทูตปัจจุบันของสหรัฐยึดมั่นในนโยบาย “จีนเดียว” ซึ่งยอมรับรัฐบาลจีนเดียวในกรุงปักกิ่งและมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนไม่ใช่ไต้หวัน


ในปี 2021 ดูเหมือนรัฐบาลจีนเพิ่มแรงกดดันด้วยการส่งเครื่องบินทหารเข้าไปในเขตแสดงตนเพื่อป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไต้หวันตั้งขึ้นเพื่อจับตามอง ควบคุม และบ่งชี้เครื่องบินต่างชาติ เพื่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของชาติ หากถามว่าทำไมรัฐบาลจีนจึงต้องการควบรวมไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เป็นแหล่งผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันในโลกทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ นาฬิกา ต่างใช้ชิปคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในไต้หวัน จากการประเมินพบว่า บริษัทที่ผลิตสารกึ่งตัวนำในไต้หวัน แค่เพียงบริษัทเดียวก็ครองส่วนแบ่งการตลาดเกินกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลก

 
แม้ว่าจะมีความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวันแต่ผลสำรวจพบว่า ชาวไต้หวันส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีความกังวลมากนัก ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มูลนิธิมติมหาชนไต้หวัน ได้สอบถามประชาชนว่าคิดว่าท้ายที่สุดแล้วจะเกิดสงครามกับจีนหรือไม่ โดยประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 71.9% ไม่เห็นด้วย ซึ่งมีเพียง 28.1% ที่เห็นด้วย และยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่บ่งชี้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในไต้หวันระบุว่า ตนเองเป็นชาวไต้หวัน โดยมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างอย่างชัดเจน

อ้างอิงจาก : BBC News

ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com 
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้