Last updated: 22 เม.ย 2565 | 1178 จำนวนผู้เข้าชม |
ในเรื่องนี้หากเป็นผู้ที่อยู่ในวงการนำเข้าหรือส่งออก จะไม่เป็นปัญหาเลยแต่ถ้าเป็น มือใหม่จะเกิดอาการกลัว ไม่มั่นใจว่าจะเริ่มส่งออกยังไง หลังจากได้ออร์เดอร์มาแล้ว การขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางเรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบการค้าระหว่างประเทศทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ที่มีมาเป็น 100 ปีขั้นตอนทุกอย่างมีแบบแผนของมันและไม่ต้องกังวลเพราะในปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่คอยอำนวยความสะดวก การขนส่งทางเรือเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระหว่างสินค้ามีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น การขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยเป็นการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางเรือจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางเรือ
ก่อนที่จะได้ออเดอร์ต้องทวนนิดหนึ่งนะครับว่าสิ่งที่เราต้องรู้ก่อนผลิตอยู่แล้วคือ
สินค้า เราจะขายสินค้าอะไร สเปคอะไร จำนวนเท่าไหร่ บรรจุหีบห่อยังไง ต้องมีบรรจุลังพาเลตไหม
ลูกค้า เราจะขายให้ลูกค้าคนไหนจากประเทศอะไรมีข้อกำหนดหรือข้อห้ามอะไรบ้างในการส่งสินค้าไปประเทศนั้นๆ
ข้อกำหนดหรือเทอมการค้า เราจะขายเขาในเทอมอะไร FOB, CIF ส่งสินค้าถึงที่ไหน จำกัดความรับผิดชอบตรงไหน
ข้อกำหนดหรือเทอมการชำระเงิน เราจะได้รับเงินเมื่อไหร่ก่อนสั่งซื้อหลังจากผลิตเสร็จส่งของแล้วหรือให้เครดิต ชำระโดยการใช้ L/C หรือ D/P, D/A สิ่งที่ตามมาคือเอกสารที่ต้องการที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง เช่น เอกสารรับรองคุณภาพสินค้า รับรองถิ่นกำเนิด ฯลฯ เมื่อเราทราบข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆที่ลูกค้าต้องการแล้วก็ตกลงเซ็นสัญญากันเว้นวรรคจากนั้นก็ถึงเวลาเริ่มจัดการเกี่ยวกับออเดอร์
ขั้นตอนการส่งสินค้าทางเรือ
ขั้นตอนแรกหลังจากได้รับออเดอร์แล้วเว้นวรรคให้เช็คทันทีว่าเราสามารถส่งของให้ลูกค้าได้ในวันที่เท่าไหร่แบบเจาะจง หรืออาจจะเหลื่อมกันไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นให้คอนเฟิร์มวันที่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า เราสามารถคอนเฟิร์มได้หลายวิธี เช่น ส่งเมลไปคอนเฟิร์ม หรือทำเอกสารก่อนส่งที่เรียกว่า Pro-forma Invoice เป็นการสรุปรายละเอียดคร่าวๆก่อนส่งจริง
ขั้นตอนถัดมาก็ดำเนินการผลิต หรือสั่งซื้อ (ในกรณีเป็นคนกลาง)ให้ทันเวลา
หลังจากได้กำหนดวันส่งแล้ว ให้เราติดต่อชิปปิ้ง เพื่อจองพื้นที่เรือให้กับเรา ปกติแล้วเราจะต้องจองเรือกับ Freight Forwarder แต่ชิปปิ้งหลายหลายลายสมัยนี้ก็มีบริการนี้อยู่แล้วไม่ต้องติดต่อหลายที่ให้เสียเวลา
สิ่งที่เราต้องเตรียมก่อนไปจองพื้นที่เรือกับชิปปิ้งก็คือ รายละเอียดสินค้าเว้นวรรคปริมาตรและน้ำหนัก คำนวณรวมพาเลตด้วย (ถ้าต้องใช้พาเลต) แล้วค่อยไปเดิน 10 ปีเว้นวรรคโดยปกติแล้วชิปปิ้งจัดของเอกสารการส่งออก 2 อย่างก็คือ Commercial Invoice และ Packing List ซึ่งเราควรเตรียมไว้ล่วงหน้า จากนั้นเมื่อถึงวันส่งของจริง ก็จัดการส่งของให้เรียบร้อย ซึ่งก็มีทั้งแบบส่งของที่โกดังนอกท่าเรือ (Container Yard) เพื่อรวบรวมสินค้า หรือส่งในท่าเรือเลย (Container Freight Station) เพื่อเตรียมของลงเรือก็ได้เช่นกัน
เมื่อสินค้าลงเรือแล้วเราจะได้รับเอกสารฉบับหนึ่งที่เรียกว่า Bill of Landing (B/L) ชื่อไทยว่าใบตราส่งทางเรือเอามาเป็นหลักฐานว่าเรือได้รับสินค้าจากเราแล้ว ถ้าเรามีหน้าที่ต้องซื้อประกันภัยทางทะเล ก็อย่าลืมซื้อเด็ดขาดเพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันเมื่อไหร่
เมื่อส่งสินค้าลงเรือเรียบร้อยผู้ส่งออกมีหน้าที่นำเอกสารที่ตกลงกันไว้กับผู้นำเข้าเช่น Invoice, Packing List, Bill of Landing แล้วเอาไปส่งให้ผู้นำเข้าปลายทางผ่านทาง Courier เช่น ไปรษณีย์ไทย หรือ DHL, FEDEX เป็นต้น จากนั้นก็รอเก็บเงินหรือถ้าใครรับเงินก่อนก็ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลยเว้นวรรคถ้าใครทำทุรกรรมแบบ L/C หรือ D/P, D/A ก็ต้องนำเอกสารนี้ไปให้ที่แบงค์แทนเพื่อให้แบงค์ดำเนินการแทนเรา นี่คือภาพรวมของการขนส่งสินค้าทางเรือ ที่จะเหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ปริมาตรสูง หรือไม่ได้ต้องการความเร่งด่วนในการขนส่ง ค่าส่งมีราคาถูกกว่าแบบอื่น
อ้างอิงจาก : INTERTRADER ACADEMY
ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)