Last updated: 11 เม.ย 2565 | 750 จำนวนผู้เข้าชม |
วิกฤตขาดแคลนอาหาร เป็นปัญหาที่ถูกซ้ำเติมในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 วิกฤติขาดแคลนอาหารถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องไปแปลกใหม่อะไร แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่ควรถูกมองข้ามโดยเฉพาะในช่วงนี้ เป็นปัจจัยที่เสริมความรุนแรงของการขาดแคลนอาหาร เนื่องจาก ผู้ผลิตอาจจะต้องลดกำลังการผลิตเพราะการแพร่ระบาดโดยมีทั้งที่ลดเพราะ แรงงานมีการติดเชื้อไปจนถึงลดการผลิตเพราะผู้บริโภคลดการจับจ่ายลง และยังส่งผลไปถึงในภาคของการส่งออกเนื่องจากมีการล็อคดาวน์ในหลายๆประเทศ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ รายงานว่าในปี 2564 มีผู้ประสบวิกฤติขาดแคลนอาหารเฉียบพลันในยุค โควิด-19 มากถึง 161 ล้านคน ซึ่งมากกว่าในปี 2563 ถึง 4% และวิกฤตินี้ไม่ได้หยุดแค่ที่ประเทศที่ยังไม่พัฒนา แต่ยังส่งผลไปถึงประเทศที่กำลังพัฒนาและกลุ่มคนที่ยากจนทั่วโลก
ในภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นกิจกรรมพื้นฐานเพื่อปากท้องและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในช่วงนี้มีต้นทุนที่สูงขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่พุ่งสูง ส่งผลให้ปุ๋ยเคมีที่ผลิตจากแก๊ซธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ในส่วนของอาหารแปรรูป กระบวนการแปรรูปต่างๆก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตามกันไปเพราะหนึ่งในแหล่งพลังงานที่ใช้ในโรงงานผลิตและแปรรูปคือแก๊สธรรมชาติ เมื่อบวกรวมต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนของการผลิต แน่นอนว่าราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้มาตรการป้องกัน โควิด-19 ซึ่งทำให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการทำความสะอาดและลดความหนาแน่นของผู้คน ยังเป็นอุปสรรคต่อการเร่งผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ การที่ไม่สามารถทำงานแข่งกับเวลาและตลอดสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในอดีตก็ยังไม่เพียงพออยู่แล้ว จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญของการเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหาร
ในส่วนของภาคการผลิตที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่สามารถหารายได้มาจุนเจือค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตทำให้กระบวนการผลิตจนปลูกและเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตน้อยลง ไม่สามารถสร้างกำไรได้มากพอจากการขายคุณผลิตในราคาสูงซึ่งสวนทางกับกำลังซื้อที่ลดลงของผู้คน สุดท้ายแล้วผู้ผลิตเองก็ขาดทุน ไม่สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในบ้านได้แล้วยังส่งผลให้เกิดการทิ้งผลผลิตอีกด้วย ผลการสำรวจของธนาคารโลกใน 72 ประเทศในหัวข้อการเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนช่วง โควิด-19 ในปี 2022 ยังบอกอีก ว่าผู้คนเริ่มประหยัดปริมาณอาหารที่กินจนสารอาหารที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการมีสุขภาพที่ดีและอาจส่งผลกระทบระยะยาวและถาวรในเด็กเล็ก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนมีรายได้ที่ลดลงไม่ว่าจะมีสาเหตุจากการถูกลดเงินเดือนถูกปลดออกเลิกจ้างงานหรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพิ่มขึ้นก็ตาม
ภาพการขนส่งระหว่างประเทศในยุค โควิด-19 การขนส่งผลผลิตครั้งสินค้าภายในและภายนอกประเทศเป็นงานที่ต้องพบอุปสรรคมากมายในยุค โควิด-19 เพียงแค่ระเบียบการทำงานซึ่งต้องใช้เวลาที่มากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้เพราะความล่าช้าที่เกิดขึ้น ส่งผลให้อาหารบางชนิดต้องเพิ่มกรรมวิธีในการถนอมอาหารรวมไปถึงบางชนิดที่ต้องการความสดใหม่ไม่สามารถขนส่งได้ และขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้ส่ง ผลกระทบแค่ผู้บริโภคในด้านของคุณภาพและความสดใหม่แต่ยังกระทบไปถึงผู้ผลิตเพราะขั้นตอนที่ใช้เวลาทำให้ผลผลิตเสื่อมไปตามกาลเวลาเช่นกัน ขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าอาหารเป็นส่วนใหญ่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพิ่มขึ้นและยังเพิ่มค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้ารวมถึงประเด็นของราคาสินค้าประเภทอาหารที่เฟิสสูงขึ้นเป็นผลกระทบมาจากกระบวนการผลิตและขนส่งเองที่ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 รวมไปถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น
จากงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของ โควิด-19 ต่อการค้าขาย เศรษฐกิจ และปัจจัยของความมั่นคงทางอาหารโดยศึกษาจากประเทศกำลังพัฒนา 45 ประเทศ บ่งชี้ว่าประเทศกำลังพัฒนาที่เน้นการ การส่งออกสินค้าเป็นสำคัญกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งผู้คนสูญเสียรายได้จากมาตรการล็อคดาวน์ และการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นและเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19 เกิดการปลดพนักงานจำนวนมากเพื่อลดต้นทุน พนักงานอาจลาออกจากงานตัวเองหรือกรุยทางกักตัวเพื่อพักรักษาอาการติดเชื้อ โควิด-19 ทั้งนี้ภาวะขาดแคนแรงงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความล่าช้าของการผลิตและส่งออกสินค้าและอาจมีการลดการส่งออกเพื่อกักตุนไว้สำหรับคนในประเทศตัวเองด้วยก็ได้ดังนั้นประเทศปลายทางที่ไม่สามารถพึ่งพาผลผลิตจากการนำเข้าได้เท่าก่อนการแพร่ระบาดจึงเสี่ยงวิกฤติขาดแคลนอาหารอย่างมากจนน่าเป็นห่วง
อ้างอิงจาก LINE TODAY
---------------------
วิกฤตขาดแคลนอาหาร: ปัญหาที่ถูกซ้ำเติมในยุคการระบาดของโควิด-19 - PCMXJ9977 | LINE TODAY SHOWCASE | LINE TODAY
ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)