การชำระเงินระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบการ

Last updated: 7 เม.ย 2565  |  523 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การชำระเงินระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบการ

การชำระเงินระหว่างประเทศ หนึ่งในกิจกรรมที่ผู้ประกอบการชาวไทย ยังมีข้อสงสัยว่าหากเราได้ทำธุรกิจส่งออกหรือนำเข้าแล้วนั้นเราจะรับชำระเงินจากลูกค้าช่องทางไหนบ้างหรือจะชำระเงินได้อย่างไร แล้วช่องทางไหนปลอดภัยที่สุด และสะดวกที่สุดวันนี้เราจะมาพูดถึงการชำระเงินระหว่างประเทศกัน


การชำระเงินภายในประเทศ
ก่อนที่เราจะพูดถึงการชำระเงินระหว่างประเทศ เรามาดูวิธีการชำระเงินในประเทศกันก่อน หากเราขายสินค้าแบบ B2B (Business to Business : การค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท) นั้นเราจะนิยมรับเงินในรูปแบบของการโอนเงินผ่านธนาคาร (Baht Net) หรือการชำระด้วยเช็คสั่งจ่าย (Draft) ซึ่งหากผู้ขายต้องการรับเงินก็ต้องแจ้งเลขบัญชีให้ผู้ซื้อชำระเงิน หรือชื่อบัญชีสำหรับออกเช็คสั่งจ่ายนั่นเอง วิธีนี้เป็นวิธีที่ธรรมดาสามัญไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก

แต่สำหรับกรณีการขายแบบ B2C (Business to Customer: การค้าระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค) ผู้ขายนั้นนิยมรับชำระแบบเงินสด หรือโอนเงินทางธนาคารมากกว่า เพราะสะดวกกว่าการรับชำระเงินผ่านเช็คสั่งจ่ายเนื่องจากมีจำนวนเงินไม่มาก และผู้บริโภคทั่วไปไม่นิยมใช้เช็คในการชำระ(ในบางประเทศเงินไม่กี่เหรียญก็นิยมใช้เช็คสั่งจ่าย)

การชำระเงินระหว่างต่างประเทศ
ในการชำระเงินระหว่างประเทศ เราจะมี 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ การชำระเงินโดยผ่านธนาคารปกติ และการชำระเงินแบบมีธนาคารเป็นผู้รับรองการชำระเงินโดยผ่านธนาคารปกตินั้นจะคล้ายๆกับการชำระเงินในประเทศคือมีทั้งประเภทเงินโอนระหว่างบัญชีและการใช้เช็คสั่งจ่าย

1.) การโอนเงินระหว่างบัญชี (Telegraphic Tranfer - T/T)
วิธีการนี้ คือการโอนเงินผ่านธนาคารในสมัยแรก ใช้วิธีการสื่อสารกันแบบตัวเลขจึงเป็นที่มาของคำว่า Telegraphic Tranfer แม้ว่าในปัจจุบันเราใช้การสื่อสารกันแบบดิจิตอล หรืออิเล็คทรอนิกส์กันหมดแล้ว แต่เราก็ยังเรียกติดปากว่าโอนเงินผ่านโทรเลขนั่นเอง วิธีการโอนเงินระหว่างประเทศแบบนี้ไม่ต่างจากการโอนเงินระหว่างบัญชีในประเทศเท่าไหร่ ซึ่งจะมีผู้โอนเงินออกหรือเรียกว่า Applicant ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำเข้าสินค้า และเป็นผู้แจ้งกับธนาคารว่าจะโอนเงินไปหาผู้รับ หรือเรียกว่า Beneficiary ซึ่งจะเป็นผู้ส่งออกเป็นหลักเช่นกัน แต่เงินจะไม่ได้วิ่งไปหาแบงค์ปลายทางโดยตรง แต่จะไปผ่านคนกลางที่เรียกว่า International Clearing Center หรือแบงค์ที่รับเคลียร์เงินระหว่างประเทศนั่นเอง


International Clearing Center
International Clearing Center หรือแบงค์ที่รับเคลียร์เงินระหว่างประเทศ นั้นมีหน้าที่เป็นธนาคารคนกลางที่คอยแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศให้ไปถึงผู้รับ เพราะไม่ใช่มีแค่เราคนเดียวที่ทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ แต่จะมีหลายบริษัททั้งรับเงินสำหรับออเดอร์ส่งออก และชำระเงินสำหรับออเดอร์นำเข้า หากมีการเคลื่อนไหวของเงินไปมา จะทำให้สับสนวุ่นวายได้ จึงเกิดเป็นบริการเคลียร์เงินระหว่างประเทศขึ้นมา ตัวอย่างเช่น เวียดนามโอนเงินมาไทย 100 ล้านบาท หรือไทยโอนไปเวียดนาม 80 ล้านบาท เราก็ไม่ต้องหอบเงินไปมาระหว่างประเทศให้เหนื่อยโดยใช้วิธีหักลบกลบนี่เอาเอง สุดท้ายก็คือเวียดนามโอนมาให้ไทย 20 ล้านบาท เป็นอันจบขั้นตอน การเคลียร์เงินระหว่างประเทศนี้จะใช้เวลาข้ามวัน ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เราได้เงินล่าช้ากว่าปกติ ตามปกติเราจะได้รับเงินประมาณ 2 วัน หลังจากลูกค้าต้นทางโอนเงินมาให้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องร้อนใจหากยังไม่สามารถเบิกเงินได้ในทันที

2.) การชำระเงินด้วยเช็คสั่งจ่าย(Draft)
การชำระเงินด้วยเช็คสั่งจ่ายในบางประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมากเพราะสะดวกสำหรับผู้จ่าย แค่เขียนแล้วยื่นให้ก็เสร็จแล้ว ส่วนผู้รับก็ต้องรับภาระไปขึ้นเงินที่แบงค์เอง รวมถึงภาระค่าธรรมเนียมกรณีขึ้นเช็คต่างเขตหรือต่างประเทศกันด้วย เวลาเราได้รับเช็คเว้นวรรคให้ไปที่ธนาคารเพื่อคืนเงินให้เรียบร้อยก่อน โดยเราจะต้องมีบัญชีรับเงินธนาคาร (เหมือนรับเช็คในประเทศ) ซึ่งธนาคารจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเคลียร์เช็คกับธนาคารที่ต่างประเทศนั่นเอง จากนั้นเมื่อเราได้รับเงินแล้วก็จะถูกหักค่าธรรมเนียม เคลียร์ริ่งเช็ค เหมือนกับธนาคารทั่วไปเพียงแต่การรับเงินจากต่างประเทศค่าธรรมเนียมก็จะแพงเป็นพิเศษ


เงื่อนไขเวลาในการชำระเงิน(Payment Terms)
ไม่ว่าจะมีการสั่งจ่าย เช็คหรือโอนเงินเรามักจะมีปัญหากันเสมอเพราะไม่รู้ว่าใครจะทำก่อนระหว่างส่งของก่อนแล้วรับเงินหรือจ่ายเงินก่อนแล้วค่อยส่งของซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องตกลงกันระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออกให้ดี ในการรับเงินก่อนแล้วค่อยส่งออกนั้นเราจะเรียกวิธีการชำระนี้ว่า Advance Payment ในส่วนของการส่งของก่อนแล้วค่อยเก็บเงินนั้น เราจะเรียกว่า Open Account ซึ่งทั้งสองวิธีมีแนวทางคล้ายกับการจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้า หรือการขอเปิดหน้าบัญชีเครดิตแบบที่ขายในประเทศนั่นเอง


การรับชำระเงินโดยใช้ธนาคารเป็นผู้รับผิดชอบ
การชำระเงินใน 2 ประเภทแรก คือ การโอนเงินระหว่างประเทศและการชำระด้วยเช็คสั่งจ่ายนั้นธนาคารจะเป็นผู้รับหน้าที่ในการโอนเงินระหว่างประเทศให้เรียบร้อย และรับเงินค่าส่วนต่างจากค่าทำเนียมการโอนเงิน ซึ่งจะไม่ได้มีส่วนเสียหายหากกรณีผู้นำเข้ากับผู้ส่งออก ไม่สามารถส่งของได้ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งหากผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่เชื่อใจกัน ในการทำธุรกิจ เงินจะไปแต่กลัวของไม่มาหรือในทางกลับกันทั้งผู้นำเข้าและส่งออก ก็สามารถหาคนกลางมาช่วยให้ได้รับความน่าเชื่อถือได้ ในกรณีนี้คือธนาคารที่ทั้งสองฝ่ายเชื่อถือ ธนาคารที่เข้ามาเป็นคนกลางนี้ จะเป็นทั้งธนาคารฝั่งประเทศผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ติดต่อกัน ซึ่งในวงการธนาคารก็จะมีข้อมูลเชื่อมต่อกันอยู่แล้วซึ่งทำให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าวางใจมากขึ้น


3.) การชำระเงินแบบวางบิลเก็บเงิน (Bill for Collections - B/C)
การชำระเงินประเภทนี้ จะคล้ายกับการสั่งให้ผู้ส่งออกส่งของไปก่อน แล้วค่อยไปเก็บเงินแต่ผู้ส่งออกจะไม่ส่งเอกสารไปให้ผู้นำเข้ายอดเก็บเงินเนื่องจากเกรงว่าผู้นำเข้าจะไม่ชำระเงิน ผู้ส่งออกจึงนำเอกสารทั้งหมดส่งผ่านธนาคารในประเทศไปถึงธนาคารของผู้นำเข้าที่ต่างประเทศแทน โดย ให้ธนาคารของผู้นำเข้าเรียกเก็บเงินแทนผู้ส่งออกนั้นเองเมื่อธนาคารติดต่อผู้นำเข้าให้มาชำระเงินเพื่อรับเอกสาร วิธีนี้จึงเรียกว่า Bill for Collections นั่นเอง ซึ่งวิธีนี้จะมีวิธีแบบย่อยไปอีกที่เรียกว่า Documents against Payment (D/P) คือ เงินมาเมื่อไหร่เมื่อนั้นค่อยให้เอกสารไป กับอีกแบบที่เรียกว่า Documents against Acceptance (D/A) เป็นการที่ให้และสารไปก่อน แล้วธนาคารค่อยตามเรียกเก็บเงินกับผู้นำเข้าอีกที ซึ่งไม่ว่าจะทั้งเงื่อนไขไหนต้องมีการตกลงกันก่อนระหว่างผู้นำเข้าเว้นวรรคส่งออก และธนาคารของทั้งสองฝั่ง


4.) การชำระเงินแบบให้ธนาคารค้ำประกัน(Letter of Credit - L/C)
คำว่า L/C นั้นน่าจะเป็นคำที่คนทั่วไปได้ยินกันบ่อยๆ เพราะเป็นวิธีการชำระเงินที่นิยมกันมากเนื่องจากธนาคารจะมีบทบาทอย่างมากในการรับชำระเงินประเภทนี้ เพราะต้องอาศัยการรับประกันการชำระนั่นเอง โดยขั้นตอนของการชำระเงินแบบให้ธนาคารทำประกันนั้นมีอยู่ว่า ผู้ส่งออกนั้นไม่ได้ให้เครดิตเว้นวรรคหรือยังไม่เชื่อถือเครดิตของผู้นำเข้า จึงไม่สามารถให้ซื้อแบบติดเงินได้เว้นวรรคจึงให้ผู้นำเข้าไปหาใครสักคนที่น่าเชื่อถือ มาค้ำประกันการชำระเงิน ซึ่งในกรณีนี้คือธนาคาร โดยผู้นำเข้ามีหน้าที่ไปขอให้ธนาคารฝั่งนำเข้า รับประกันการชำระเงินการรับประกันนี้ คือการระบุว่า หากผู้นำเข้าไม่จ่ายธนาคารจะต้องเป็นผู้จ่ายให้ทันที จากนั้นธนาคารก็จะดูเครดิตของผู้นำเข้าแล้วออกเอกสาร ที่เรียกว่า Issued L/C ส่งมาให้ธนาคารผู้ส่งออก ธนาคารผู้ส่งออกก็เชิญผู้ส่งออกมาตรวจแล้วสรุปเงื่อนไขกันว่าเอกสารที่ทางนั้นส่งมาเรียบร้อยดีไหม หรือมีข้อไหนส่วนไหนที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมก็ว่ากันไป หากสรุปได้เรียบร้อยแล้ว ธนาคารผู้ส่งออกก็จะรับประกันL/C ให้ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่ง เมื่อถึงขั้นนี้ผู้ส่งออกก็วางใจได้ว่า หากทำการส่งสินค้าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้วนั้น ผู้นำเข้าต้องจ่ายเงินหากไม่จ่ายธนาคารผู้นำเข้าจะจ่ายแทนนั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้เหมือนจะปลอดภัยสำหรับผู้ส่งออก แต่ว่ามีเงื่อนไขเดียวที่เป็นความเสี่ยงนั้นก็คือการทำให้ตรงตามข้อตกลงใน L/C ถ้าผู้ส่งออกทำไม่ได้ ธนาคารฝั่งนำเข้าก็มีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินแต่หากทำได้ ธนาคารฝั่งนำเข้าไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้น L/C ก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นสัญญาอีกฉบับนั่นเอง

 
ขั้นตอนการชำระเงินระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีการที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งผู้นำเข้าและส่งออก ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนที่จุกจิกไปบ้างแต่หากทำแล้ว ก็จะปลอดภัยในการชำระเงินระหว่างประเทศมากขึ้นซึ่งทำให้เราเกิดความมั่นใจในการทำธุรกิจส่งออกหรือนำเข้านั่นเอง

 
อ้างอิงจาก : INTERTRADER ACADEMY

ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com 
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้