ช่องทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มี 3 ช่องทาง

Last updated: 7 เม.ย 2565  |  1580 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ช่องทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มี 3 ช่องทาง

การขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งนั้น มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติมากมาย ซึ่งยุ่งยากกว่าการขนส่งภายในประเทศ ถ้าเป็นภายในประเทศเราแค่ขนของจากโรงงานหรือโกดังไปส่งให้สถานที่ที่ลูกค้าต้องการพ่อถือเป็นอันเสร็จสิ้น แต่การขนส่งระหว่างประเทศนั้นต้องมีการยกขึ้นลงจากรถจากโรงงานไปท่าเรือหรือ ท่าอากาศยาน ในบางประเทศอาจรวมถึงการใช้รถไฟในการขนส่งอีกด้วยซึ่งวิธีต่างๆนั้นก็ต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรก่อนจึงจะเคลื่อนย้ายได้ อีกทั้งการเดินทางของสินค้าไปในทะเลหรือท้องฟ้าเว้นวรรคระหว่างทางก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งพายุมรสุม พอถึงประเทศปลายทางก็ต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรนำเข้า แล้วจึงสามารถยกลงจากเรือหรือเครื่องบิน ขนถ่ายลงรถเพื่อส่งไปยังผู้นำเข้า จากที่กล่าวมาเบื้องต้นจะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนเยอะมาก หากยังมองภาพไม่ออกว่าการขนส่งเป็นอย่างไรเราจะมีโอกาสทำงานผิดพลาดได้ทั้งเรื่องเอกสารการคิดต้นทุนหรือความเสี่ยงอีกด้วย

 
ช่องทางการขนส่งระหว่างประเทศ
ช่องทางการขนส่งระหว่างประเทศหลักๆมีอยู่ 3 ช่องทางได้แก่ 1.)ทางเรือ 2.)ทางเครื่องบิน 3.)ทางรถ ซึ่งแต่ละช่องทางมีข้อดีข้อเสียต่างกันไปเราจะมาดูข้อดีข้อเสียในแต่ละช่องทางกัน


การขนส่งทางเรือ
การขนส่งทางเรือนั้นถือว่าเป็นช่องทางหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเว้นวรรคซึ่งเราจะใช้บริการของสายเรือในการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเยอะหรือมีขนาดใหญ่ และไม่ต้อง การความเร่งด่วนในการขนส่งเว้นวรรคเพราะการเดินทางโดยเรือใช้เวลานานมากแต่เนื่องจากเรือมีขนาดใหญ่ ทำให้บรรทุกสินค้าได้ทีละเยอะๆ จึงทำให้การ ขนส่งสินค้าได้ต้นทุนต่อน้ำหนักที่ราคาถูกมากเมื่อเทียบกับการขนส่งแบบอื่น สายเรือแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

1.) Liner คือสายเรือที่มีเส้นทางการเดินเรือตายตัว เปรียบเสมือนรถเมล์ที่ว่าสายนี้ต้องวิ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเว้นวรรคมีเวลาแน่นอนเหมือนเรานั่งรถเมย์ เหมาะกับสินค้าที่มีปริมาตรแน่ชัด ไม่ต้องกังวลว่าจะปะปนกับสินค้าอื่น

2.)Charter เหมือนเรือรับจ้างที่รับเฉพาะเส้นทางที่เราต้องการให้ไป เหมือนกับการเรียกแท็กซี่นั่นเอง โดยสายเรือนี้สามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทเยอะย่อยก็คือ 2.1) Voyage charter แบบเหมาเที่ยวเดียว 2.2) Time charter แบบเหมาเวลา 2.3) Bareboat charter คือแบบเหมาเรือเปล่า


การที่เราจะใช้บริการสายเรือได้นั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดีดีอยากจะส่งเราจะติดต่อกลับเรือได้โดยตรง เนื่องจากเรือมีขนาดใหญ่มากและคนทำธุรกิจเดินเรือเค้ามีหน้าที่เดินเรือไม่มีเวลามานั่งหาคนเช่า สายเรือจึงหาตัวแทนที่เราเรียกว่า Freight Forwarder ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ขายพื้นที่บนเรือให้กับลูกค้าทั่วไปนั่นเองเว้นวรรคซึ่งตัวแทนสายเรือเหล่านี้จะมาหาลูกค้าจากผู้นำเข้าส่งออกอย่างเราๆ บางรายก็จะมีบริการเดินพิธีทางศุลกากรเป็นชิปปิ้งด้วยเลย เราจะสังเกตว่าในปัจจุบันนี้ถูกชิปปิ้งจะเป็นทั้งตัวแทนสายเรือและดำเนินพิธีทางศุลกากรไปในตัวบริษัทสายเรืออย่างเช่น MEARSK, HANJIN ที่เรามักจะเห็นเรือลำใหญ่ๆ และเห็นโลโก้บริษัทอยู่ตามตู้คอนเทนเนอร์ฉะนั้นแล้วถ้าท่านต้องการขนส่งโดยทางเรือให้ติดต่อผ่านตัวแทนบริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่การติดต่อบริษัทเรือโดยตรง

 
การขนส่งทางเครื่องบิน
การขนส่งทางเครื่องบินเป็นที่นิยมไม่แพ้กันกับทางเรือ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วมากขึ้นการส่งของทางเครื่องบินนี้เหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักเบา มีบริมาสไม่มากเกินไป และสินค้าที่มีอายุการใช้งานสั้นสั้น เช่นดอกไม้ พืชผัก เป็นต้น แต่ด้วยความรวดเร็วที่ได้มานี้ก็ต้องแลกกับราคาที่สูงขึ้น โดยการขนส่งทางเครื่องบินก็คล้ายๆกับทางเรือคือ จะมีการส่งแบบฝากสายการบินไปหรือเจาะจงเฉพาะสายการบินที่ขนส่งสินค้าเท่านั้น การขนส่งทางเครื่องบินนั้นมีข้อจำกัดของสิ่งที่ต้องการขนส่งมากกว่าการขนส่งแบบอื่น

 
การขนส่งทางรถ
ในบางประเทศมีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีถนนเชื่อมต่อกัน หรือภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันไม่ห่างกันมากนะอย่างเช่นประเทศไทยกับเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา หรืออาจจะ ไปไกลหน่อยอย่างเช่นเวียดนามหรือจีนก็ทำได้ การขนส่งทางรถนั้นจะเหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักมากและปริมาตรใหญ่เหมือนกับทางเรือ แต่ว่าอาจจะมีราคาต้นทุนการขนส่งสูงกว่าทางเรือเนื่องจากการขนส่งทางรถขนส่งได้ครั้งละไม่เยอะมาก ได้อย่างมากครั้งละ 1-2 ตู้ หากเทียบกับทางเรือ ซึ่งสามารถบรรทุกได้ เป็น 1,000 ตู้ต่อหนึ่งลำ แต่การขนส่งทางรถ นั้นมีข้อดีกว่าทางเรือคือ ใช้ระยะเวลาการขนส่งน้อยกว่าทางเรือ ในการคิดค่าขนส่งนั้นจะคิดเป็นคิวบิกเมตรหรือตามน้ำหนักขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าด้วย

 
การขนส่งแบบพิเศษ (Courier)
อย่างที่ กล่าวมาในข้างต้นทั้งหมดคงจะเห็นได้ว่าการขนส่งของหรือสินค้าไปมาระหว่างประเทศนั้นต้องผ่านหลายขั้นตอน แต่ก็มีข้อสงสัยว่าหากเราแค่ส่งจดหมายฉบับหนึ่งหรือแค่ของขวัญชิ้นเดียว คงไม่ต้องมาจ้างชิปปิ้งเคลียร์ของ ประกอบกับการส่งบางอย่างต้องใช้ความเร่งด่วน ศุลกากรทั่วโลกจึงอนุโลมให้มีการ มีการขนส่งแบบพิเศษขึ้นมาคือมีการจัดช่องทางพิเศษ มีขั้นตอนการเคลียร์ของนำเข้าโดยเฉพาะ ซึ่งในโลกนี้จะมีแค่ไม่กี่บริษัทที่ได้รับสิทธิ์นี้ Fedex, DHL, UPS, USPS, TNT เราอาจจะสงสัย ว่าถ้าส่งไปรษณีย์ไทยก็ได้ใช่ไหมจริงๆแล้วไปรษณีย์ไทยก็เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ  UPS สำหรับการจัดส่งในต่างแดน เป็นต้น สำหรับการคิดค่าใช้จ่ายนั้นเว้นวรรคจะมีการคิดค่าใช้จ่ายแบบขนส่งทางอากาศเหมือนสายการบินทั่วทั่วไปแต่อาจจะมีราคาสูงกว่าบ้าง เพราะเขาให้บริการอย่างรวดเร็ว

 
การขนส่งแบบเหมาจ่าย (Cargo)
การขนส่งทางรถผ่านชายแดนก็จะต้องมีการผ่านพิธีทางศุลกากรเช่นกัน หากต้องใช้วิธีการเดียวกันกับทางเรือหรือเครื่องบินเราจะต้องแกะสิ่งของที่บรรจุมาตรวจสอบหรือสแกนทีละคัน ต้องใช้เวลามากและยุ่งยาก ดังนั้นบริษัทขนส่งระหว่างประเทศเลยมีบริการเคลียร์ของผ่านวิธีการทางศุลกากรไปด้วยเลยทีเดียว เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลามากและก็จะให้เราเหมาจ่ายทั้ง ค่ารถค่าเคลียร์ภาษีขาเข้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มเลยทีเดียว

 
การขนส่งไหมแต่ละแบบที่กล่าวมานั้นคงพอช่วยให้ท่านได้เลือกใช้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์และต้นทุนที่ต่ำที่สุด ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของสินค้าและราคาจำหน่ายถูกลงตามไปด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าให้กับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย


อ้างอิงจาก :  INTERTRADER ACADEMY

ติดต่อนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทย
บริษัท ไทยฮัวโฟร์ยู จำกัด
เวลาทำงาน จันทร์- เสาร์ 8.00-17.00น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
เบอร์มือถือ 083 090 4009 หรือ 02 101 9701
Facebook: thaihau4u
Line@: @thaihua4u
Email: thaihua4u@gmail.com 
Wechat: thaihua4u-1 (ติดต่อคุณต่าย)
QQ: 3243949479 (ติดต่อคุณต่าย)
Tel: 083 090 4009 และ 02 101 9701 (ออฟฟิตไทย)
Tel: +86 18019528780 (Miss Wang ออฟฟิตจีน)
Tel: +86 18257834681 ( Mr.Lu โกดังจีน)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้